- นักบัญชีมืออาชีพจะต้องสำเร็จการศึกษา ขั้นต่ำทางด้านบัญชีในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่เปิด การเรียนการสอนหลักสูตรวิชาการบัญชี ซึ่งได้กำหนดวิธีการคัดเลือกเข้าศึกษาด้านการบัญชีอย่างเป็นระบบ และมีการจัดการเกี่ยวกับหลักสูตรการบัญชีการบัญชี (Content of Professional Accounting Education Programs) ที่จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ทางวิชาชีพบัญชีระดับสูง และสามารถพัฒนาตนเองเป็นนักบัญชีมืออาชีพได้ในอนาคต ใน IES ฉบับที่ 2 ได้แบ่งองค์ความรู้ในหลักสูตรการบัญชีเป็น 3 ส่วน คือ การบัญชี การเงิน และความรู้อื่นที่เกี่ยวข้อง (Accounting, Finance and Related Knowledge) ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขององค์กร (Organizational and Business Knowledge)
- นักบัญชีมืออาชีพต้องมีทักษะทาง วิชาชีพ (Professional Skills) ในด้านต่างๆ ได้แก่ ทักษะด้านสติปัญญา (Intellectual Skill) ทักษะด้านเทคนิคทั่วไปและเทคนิคเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพ (Technical Skill) ทักษะส่วนบุคคล (Personal Skill) ทักษะในการสื่อสารและการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Interpersonal and Communication Skill) และทักษะด้านการจัดการทางธุรกิจและองค์กร (Organizational and Business Management Skills)
- นักบัญชีมืออาชีพต้องมีคุณค่าและมี ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพอันอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม (Professional Value, Ethic and Attitudes) ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อสังคม ความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ ความสามารถในการรักษาความลับ และความเป็นอิสระ
- นักบัญชีมืออาชีพจะต้องมีการสะสม ประสบการณ์เชิงปฏิบัติ(Experience) เป็นระยะเวลานานและเข้มข้นเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าเป็นนักบัญชีที่มีความ รู้และมีทักษะทางวิชาชีพ รวมทั้งมีความรู้และทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพอันอยู่บนฐานของความมีจริยธรรม โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดและมีกระบวนการตรวจสอบอย่างมีมาตรฐานและสม่ำเสมอ
- นักบัญชีมืออาชีพจะต้องสอบผ่านการ ประเมินความสามารถทางวิชาชีพ (Prqfessional Capabilities) ซึ่งจะเป็นการประเมินความรู้และทักษะทางด้านวิชาชีพ ตลอดจนการมีคุณค่า ทัศนคติทางวิชาชีพและจริยธรรม
- นักบัญชีมืออาชีพจะต้องมีการเรียนรู้ อย่างไม่จบสิ้น (Lifelong Learning) โดยถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะต้องพัฒนา และรักษาความสามารถด้านวิชาชีพ โดยมีกฎเกณฑ์และข้อบังคับให้นักบัญชีได้มีโอกาสได้พัฒนาความรู้ความสมารถทาง ด้านวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
ที่มา : ดร.สันสกฤต วิจิตรเลขการ. 2549 International Standards (IES) กับวิชาชีพบัญชีในประเทศ, จุลสารสมาคมบัญชีไทย ปีที่3 ฉบับที่1, บริษัทธรรมนิติเพรส จำกัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น