วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

จรรยาบรรณนักบัญชีตามวิถีพุทธ

อาชีพนักบัญชีเป็นอาชีพที่มีความรับผิดชอบสูง นักธุรกิจสามารถนำตัวเลขทางบัญชีไปวิเคราะห์ผลการประกอบการ ดูแนวโน้มทางธุรกิจ คาดคะเนการขาย วางเป้าหมายธุรกิจ และการใช้ข้อมูลทางบัญชีวิจัยทางด้านตลาด ส่วนภาครัฐบาลสามารถนำตัวเลขไปวางแผนด้านงบประมาณ การจัดเก็บภาษี วิเคราะห์ความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ (GDP)ฯลฯ ดังนั้นอาชีพนักบัญชีก็ไม่ต่างกับอาชีพแพทย์ นักกฎหมาย ที่ต้องมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งเป็นองค์กรนิติบุคคลระดับประเทศได้ออกพระราชบัญญัติ พุทธศักราช 2547 ว่าด้วย จรรยาบรรณนักบัญชี ที่ดี ดังนี้
  1. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
  2. มีความละเอียดรอบคอบ
  3. รักษาความลับทางด้านบัญชีของหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  4. ไม่นำเอกสารทางด้านบัญชีไปเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก โดยไม่ได้รัอนุญาต                                   นักบัญชีที่ดีต้องยึดถือตามวิถีพุทธ พึงมีคุณสมบัติสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักบัญชีตาม สารสำคัญดังกล่าว เพื่อจัดทำ ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ และรายงานฐานะทางการเงิน และรายละเอียดอื่น ๆ ด้านการบัญชีของ บริษัท องค์กร สถานประกอบการ เยี่ยงนักบัญชีที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถและมีคุณธรรม ในสาขาของตน และเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์ ซื่อตรง รักษาจรรยาบรรณของนักบัญชีอย่างเที่ยงตรง โดยมีศีล คือประพฤติดีมีความซื่อสัตย์ สมาธิ คือ มีสติทำงานด้วยความรอบคอบ ปัญญา คือ รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกรักษาความลับขององค์กรและลูกค้า

    นักบัญชีต้องสร้างความตระหนักคุณความดีในวิชาชีพ โดยยึดหลักศีลคือความซื่อสัตย์ สมาธิคือ ความละเอียด รอบคอบในการทำงาน และปัญญาคือความมุ่งมั่นดำเนินงานของตนจนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วาง ไว้ไม่ก่อความเดือดร้อนไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็ได้ชื่อว่าเป็นนักบัญชีที่ดีได้จรรโลงคุณธรรมความดีตามวิถีพุทธแล้ว  
 ที่มา  : บ้านจอมยุทธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น