วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

10 กลโกงภาษี

  10 กลโกงภาษี

         
  ปัจจุบันการฉ้อโกงมีหลากหลายวิธีและสับซับซ้อนมากขึ้นทั้งที่หลอกลวงโดยตรงและ
หลอกลวงทางอ้อมเช่นการโกงภาษีโดยในรอบ5ปีที่ผ่านมามีผู้ฉ้อโกงภาษีอากรเฉพาะ
ที่ถูกจับได้จำนวน 287 คดี มีมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนเงินสูงถึง 3,000 ล้าน
บาท ซึ่งการโกงแต่ละครั้งนั้นได้มีการพัฒนารูปแบบวิธีคิดวิธีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป
ทำให้ยากต่อการตรวจสอบความถูกต้องจนเป็นช่องทางให้มีจำนวนผู้ทุจริตต่อระบบภาษี
อากรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยร้ายแรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ
และถ้าหากปล่อยให้ขบวนการเหล่านี้มีการเจริญเติบโตต่อไปเรื่อยๆ ในไม่ช้าสภาพเศรษฐกิจ
ของประเทศชาติ ก็จะถูกทำลายอย่างย่อยยับ ท็อป-เท็น จึงขอตีแผ่กลโกงภาษีของเหล่าบรรดา
อาชญากรทางเศรษฐกิจ จะลึกลับซับซ้อนซ่อนเงื่อนปมขนาดไหนติดตาม ได้ใน 10 กลโกงภาษี
อันดับที่ 10 การออกภาษีขายต่ำกว่าราคาจริง คิดเป็น 0.5%
วิธีการนี้มักจะเกิดขึ้นกับธุรกิจขายสินค้าที่ยากต่อการตรวจสอบในเรื่องราคา เช่น ธุรกิจ
อัญมนี เมื่อมีการซื้อขายสินค้ากันแล้ว  ลูกค้าบางรายที่ไม่ได้รับใบกำกับภาษี หรือไม่ต้อง
การรับใบกำกับภาษี จึงเกิดช่องโหว่ให้ผู้ขายสามารถออกใบกำกับภาษีขายในราคาที่ต่ำ
กว่าราคาจริงได้ เช่น เมื่อมีการขายเพรชให้กับลูกค้าในราคา 100,000 บาท โดยลูกค้าไม่ได้
รับใบกำกับภาษีไว้เป็นหลักฐานการซื้อขาย  ทำให้ผู้ขายสามารถออกใบกำกับภาษีในราคา
10,000  บาทได้  ยอดการขายในครั้งนี้ก็จะต่ำกว่าความเป็นจริงทันที และทำให้ยอดการชำ
ระภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะลดลง ทำให้รัฐได้รับภาษีน้อยลง
อันดับที่ 9 การจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นมา 2 ชุดเหมือนกัน คิดเป็น 2%
โดยจะพิมพ์แบบใบกำกับภาษีขึ้นมา  2 ชุด ซึ่งทั้ง 2 ชุดนี้จะมีเลขที่เดียวกันและเมื่อมีการ
ขายสินค้าออกไปแล้ว ก็จะทำให้มียอดการขายซ้ำซ้อนกัน 2 ครั้ง ด้วยการใช้ใบกำกับภาษี
เล่มที่เลขที่เดียวกัน วิธีการนี้จะทำให้ผู้ขายสามารถหลบยอดภาษีจากใบกำกับภาษีขายอีก
ชุดได้ โดยสามารถยื่นชำระภาษีเพียงยอดการขายเพียงครั้งเดียว และเพื่อให้ยากต่อการ
ตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ในคราวเดียวกัน แต่สามารถตรวจสอบพบภายหลังได้
อันดับที่ 8 การปลอมใบขนสินค้า และใบกำกับภาษีเพื่อขอภาษีคืน คิดเป็น 3%
วิธีการนี้ผู้ทุจริตจะอ้างว่าเป็นการส่งออก แต่มิได้มีการขนส่งสินค้าจริง โดยออกใบขนสิน
ค้าปลอมขึ้นมา เพื่อออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานในการยืนขอภาษีคืน จึงทำให้สามารถ
โกงภาษี ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ทันที เพราะว่าภาษีขายจากการส่งออกจะมี
อัตราเป็นศูนย์
อันดับที่ 7 การพิมพ์ใบกำกับภาษีใช้เองโดยไม่มีการซื้อขายคิดเป็น 4.5%
การทุจริตอันดับที่ 7 จะเป็นการพิมพ์ใบกำกับภาษีขึ้นมาเอง โดยจะลงรายการซื้อขาย ต่างๆ
ลงไปทั้งที่ความจริงไม่ได้มีการซื้อขายเกิดขึ้น แล้วจึงนำใบกำกับภาษีไปยื่นขอรับภาษีคืน
อีกรอบ
อันดับที่ 6 การออกใบกำกับภาษีโดยไม่ถูกกฎหมายคิดเป็น 7.5%
ผู้ที่กระทำจะปลอมแปลงว่าเป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อออกใบกำกับภาษีปลอม
และขายให้กับผู้ต้องการซื้อใบกำกับภาษี ซึ่งวิธีการนี้ได้รับความนิยมจากเหล่ามิจฉาชีพ มากถึง 7.5%
อันดับที่ 5 สำนักงานบัญชีปลอมเอกสารหรือสับเปลี่ยนใบกำกับภาษี
คิดเป็น 9.5%
สำนักงานบัญชีมักจะรับทำบัญชีให้ลูกค้าหลายๆ ราย  และจะมีการสับเปลี่ยนใบกำกับภาษี
ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา  โดยทำการแต่งยอดภาษีขึ้นมาใหม่ให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงซึ่งจะ
ทำให้ยอดการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มมีการเปลี่ยนแปลงในจำนวนที่ลดลง
อันดับที่  4 การตั้งบริษัทหลายๆทอดออกใบกำกับภาษีให้กันเอง
โดยไม่ได้ประกอบกิจการจริง
คิดเป็น 11%
วิธีการนี้จะมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาหลายๆ แห่ง โดยจะทำเป็นขบวนการเพื่อให้ยากต่อการ
ตรวจสอบ โดยจะออกใบกำกับภาษีซื้อขายแก่กันเป็นทอดๆ โดยทอดสุดท้ายจะแสดงตัว
เป็นผู้ส่งออก ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้มีการส่งออกสินค้าเลย แต่จะมีการปลอมใบขนสินค้า
และใบสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งวิธีการนี้กรมสรรพกรได้
ส่งเจ้าหน้าไปตรวจสอบยังประเทศ ที่ถูกอ้างถึงจนทำให้สามารถจับกุมผู้ทุจริตมาลงโทษ ได้
อันดับที่ 3 การปลอมใบกำกับภาษีของบริษัทที่มีชื่อเสียงคิดเป็น 17.5%
วิธีการนี้ผู้ทุจริตจะทำการปลอมใบกำกับภาษีขึ้นมาเองส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในธุรกิจก่อ
สร้าง ซึ่งมักจะปลอมใบกำกับภาษีของบริษัทผู้ขายส่งรายใหญ่ที่มีเครือข่ายการขายส่งกระ
จายทั่วประเทศ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบว่าใบกำกับภาษีที่ทำขึ้นมาเป็นของจริงหรือ
ของปลอม  โดยในบางครั้งผู้ซื้อใบกำกับภาษีก็สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นของปลอมแต่
ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นของปลอม
อันดับที่ 2 การขายใบกำกับภาษีคิดเป็น 20.5%
ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการจริง  และมีการประกอบธุรกิจจริงมีรายรับจากสินค้าที่
ซื้อขายจริง แต่ได้นำใบกำกับภาษีที่ผู้ซื้อไม่ต้องการไปขายให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการ
ใบกำกับภาษี เพื่อขอคืนภาษีจากรัฐหรือทำให้เสียภาษีน้อยลง ส่วนใหญ่มักพบกับธุรกิจ
ประเภทปั๊มน้ำมัน หรือผู้ประกอบการที่ขายสินค้าให้กับผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งมักจะไม่
ต้องการใบกำกับภาษี
อันดับที่ 1 การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ได้ประกอบกิจการ จริง
คิดเป็น 24%
วิธีการนี้บริษัทไม่ได้ประกอบกิจการจริง แต่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อประโยชน์
ในการขอคืนภาษีซึ่งบางรายแจ้งว่าเป็นผู้ส่งออก แต่ไม่ได้มีการส่งสินค้าจริงและบางรายก็
ไม่ได้ทำกิจการอะไร มีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่า โดยจะขอภาษีจากใบกำกับภาษี
ปลอมเมื่อขอคืนภาษีได้สักระยะหนึ่ง ก็จะปิดกิจการไปแล้วไปเปิดตัวบริษัทใหม่และดำ
เนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับดำเนินการขอคืนภาษีเวียนไปเช่นนี้เรื่อยๆ
แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ภายใต้การแข่งขันการดำเนินธุรกิจอย่างเสรีของสุจริตชนแล้วยังมี
การแอบแผงตัวจากบรรดามิจฉาชีพ ที่อาศัยคราบของสุจริตชนทำธุรกิจ อย่างไม่ชอบมา
พากล วิธีการเดียวที่จะขจัดพวกขยะสังคมเหล่านี้ได้ นั่นก็คือการร่วมมือร่วมใจของคน
ไทยทุกคน อย่าปล่อยให้คนกลุ่มนี้มาเอาเปรียบคนที่เขาตั้งใจทำงานหาเงินโดยสุจริตอย่าง
พวกเราอีกต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม - กลโกงภาษี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น