วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

การบัญชีสำหรับกิจการอุตสาหกรรม


  ในการดำเนินธุรกิจ  จะมีลักษณะการดำเนินการ 3 ประเภท คือ

1. ธุรกิจให้บริการ
2. ธุรกิจซื้อขายสินค้า
3. ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย(กิจการอุตสาหกรรม)

กิจการอุตสาหกรรม คือ กิจการที่ซื้อวัตถุดิบแล้วนำมาผลิตตามกรรมวิธีหรือกระบวนการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป เพื่อจัดจำหน่าย
          กิจการที่ผลิตเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิต จำเป็นต้องมีการจัดทำบัญชีที่สามารถคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์  เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ  ซึ่งวิธีการบัญชีที่จะนำข้อมูลที่บันทึกไว้จากบัญชีการเงินมาคำนวณหาต้นทุนผลิตภัณฑ์  จะต้องสัมพันธ์กับการคำนวณหาต้นทุนของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตสำเร็จในแต่ละงวด

สินค้าคงเหลือ ของกิจการอุตสาหกรรม  ประกอบด้วย

 

1. วัตถุดิบ  (RAW  MATERIAL)  หมายถึง  วัตถุซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของสินค้า
สำเร็จรูปขั้นต้นที่ได้ถูกแปลงสภาพ โดยกรรมวิธีการผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป  วัตถุดิบนี้จะเป็นสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้นงวดบัญชี  และจะปรากฏในงบดุล ด้านสินทรัพย์หมุนเวียน

2. งานระหว่างทำ  (WORK IN PROCESS)  หมายถึง  วัตถุดิบที่อยู่ในระหว่าง
กระบวน การผลิตซึ่งยังผ่านกระบวนการผลิตไม่ครบถ้วน เป็นงานที่อยู่ระหว่างการผลิต หรือสินค้าระหว่างผลิต ซึ่งงานที่อยู่ระหว่างการผลิต ยังไม่ถือเป็นสินค้าสำเร็จรูป แต่จะถือเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดของกิจการ จะปรากฏในงบดุลด้านสินทรัพย์หมุนเวียน

3. สินค้าสำเร็จรูป  (FINISHED  GOODS)  หมายถึง  วัตถุดิบที่ได้ผ่านกรรมวิธีการ
ผลิต ครบถ้วนตามกระบวนการผลิตและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขายได้ ณ วันสิ้นงวดบัญชี จะเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวด จะปรากฏในงบดุล ด้านสินทรัพย์หมุนเวียน

4. วัสดุโรงงาน  (FACTORY  SUPPLIES)  วัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการแปรรูป
วัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป เช่น ด้ายที่ใช้เย็บเสื้อ  ตะปูที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ กาวที่ใช้ทำกล่องกระดาษเป็นต้น

ตัวอย่าง การแสดง บัญชีสินค้าคงเหลือ ในงบดุล

บริษัท........จำกัด
งบดุล(บางส่วน)
สินทรัพย์

สินทรัพย์หมุนเวียน

          เงินสด                                                                    xx
          เงินฝากสถาบันการเงิน                                                xx
          ลูกหนี้การค้า                                                             xx
          สินค้าคงเหลือ :-
-         วัตถุดิบ                                           xx
-         งานระหว่างทำ (สินค้าระหว่างผลิต)        xx
-         สินค้าสำเร็จรูป                                  xx
-         วัสดุโรงงาน                                     xx                xx

ต้นทุนผลิตภัณฑ์  (COST OF GOODS MANUFACTURED)  แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. วัตถุดิบทางตรง  (DIRECT MATERIALS)             DM
2. แรงงานทางตรง  (DIRECT LABOR)                    DL
3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต/โสหุ้ยการผลิต  (OVERHEAD) OH

วัตถุดิบทางตรง  (DIRECT MATERIALS)  หมายถึง  สิ่ง ที่กิจการอุตสาหกรรม นำมาประกอบหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือวิธีการให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จ รูป เพื่อนำออกจำหน่าย เช่นผ้า ผลิตเสื้อหรือกางเกง  น้ำตาลและแป้ง ผลิตขนมเค้ก  วัตถุ ดิบทางตรง จึงถือเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญในการผลิตสินค้านั้นๆและสามารถตีราคาได้ จับต้องได้ มีการนำออกมาใช้ในการผลิตด้วยจำนวนที่แน่นอน มีราคาในอัตราส่วนที่สูงต่อต้นทุนในการผลิต

แรงงานทางตรง  (DIRECT LABOR)  หมายถึง  ค่า จ้างแรงงานที่จ่ายให้คนงานหรือพนักงานที่ทำหน้าที่ในการประกอบหรือเปลี่ยน สภาพจากวัตถุดิบมาเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยตรง เป็นต้นทุนค่าแรงงานที่เป็นส่วนสำคัญต่อกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปนั้นๆ

ค่าใช้จ่ายในการผลิต/โสหุ้ยการผลิต  (OVERHEAD)  หมายถึง  ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายไปในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป นอกเหนือจาก ค่าวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง  เช่น วัตถุดิบทางอ้อม ค่าแรงงานทางอ้อม วัสดุโรงงานใช้ไป ค่าไฟฟ้าโรงงาน ค่าเช่าโรงงาน ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ค่าสิทธิบัตรตัดบัญชี

          ในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ต้นทุนผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ชนิดนั้น ในกรณีของ ค่าแรงงานทางตรง และ ค่าใช้จ่ายในการผลิต จะถือว่าเป็น  ต้นทุนแปลงสภาพ  (Conversion  Cost) หมายถึง  ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เพื่อเปลี่ยนสภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป

ระบบบัญชีของกิจการอุตสาหกรรม

          กิจการที่นำวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป จะแบ่งการบันทึกบัญชีเป็น 2 ระบบ คือ
1. ระบบต้นทุนงานสั่งทำ  (JOP  ORDER  COSTING  SYSTEM)
2. ระบบต้นทุนผลิตช่วง  (PROCESS  COSTING  SYSTEM)

ระบบต้นทุนงานสั่งทำ  (JOP ORDER COSTING SYSTEM)
          เป็นระบบบัญชีที่แยกต้นทุนการผลิตออกเป็นงาน เป็น Lot  ซึ่งมีข้อแตกต่างในการผลิตแต่ละงานไม่ว่าจะเป็น จำนวนที่ผลิต รูปแบบ ขนาดที่ต้องการ หรือ วัตถุดิบที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต  การคำนวณต้นทุนในระบบนี้ จะแยกการบันทึกต้นทุนออกเป็นงานๆ จนกว่างานนั้นจะผลิตเสร็จสมบูรณ์
          เอกสารที่ใช้กับระบบต้นทุนงานสั่งทำ
1.     ใบต้นทุนงานสั่งทำ (JOB ORDER COST SHEET)  เป็นเอกสารที่ทำขึ้นในแต่ละงาน 
เพื่อทำการรวบรวมต้นทุนในการผลิต คือ ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงาน ต้นทุนโสหุ้ย
การผลิต
2.     ใบเบิกวัตถุดิบ  เป็นเอกสารเพื่อควบคุมการเบิกวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตแต่ละครั้ง
3.     บัตรลงเวลาค่าแรงงาน  เป็นเอกสารระบุระยะเวลาในการทำงาน อัตราค่าแรงงาน ของ
พนักงานที่ทำหน้าที่ผลิตสินค้า

ระบบต้นทุนผลิตช่วง  (PROCESS COSTING SYSTEM)
          เป็น ระบบต้นทุนการผลิต ที่ช่วงการผลิตในแต่ละช่วงจะต้องมีการผลิตติดต่อไปเรื่อยๆ จากแผนกหนึ่งจะต้องโอนไปผลิตอีกแผนกหนึ่ง จนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป
          ปกติแล้วกิจการที่มีการผลิตเป็นต้นทุนช่วงนั้น มักจะมีการผลิตสินค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันและมีจำนวนมาก  การผลิตจะเป็นการผลิตตลอดทั้งปี เช่น โรงงานผลิตคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โรงงานผลิตรองเท้า โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ฯลฯ
ที่มา    Copyright © 2010 All Rights Reserved.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น