วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
สรุปความเป็นมาของ พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
สาระสำคัญของกฎหมาย
|
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
|
หนี้สงสัยจะสูญ ( Doubtful Accounts )
หนี้สงสัยจะสูญ ( Doubtful Accounts )
ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทให้บริการ หรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จะมีลูกหนี้จำนวนหนึ่งที่กิจการไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ซึ่งกิจการได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว จึงตัดออกจากบัญชีลูกหนี้ เรียกว่า หนี้สูญ (Bad Debt) โดยถือเป็นบัญชีค่าใช้จ่าย แต่การติดตามทวงถามจากลูกหนี้อาจใช้เวลาคาบเกี่ยวระหว่างงวดบัญชี ทำให้ค่าใช้จ่ายไม่ตรงกับรอบระยะเวลาของการขายหรือให้บริการ และทำให้มูลค่าของลูกหนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงได้มีการประมาณลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ในแต่ละงวดบัญชี เรียกว่า หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts) ถือเป็นรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี ซึ่งบัญชีหนี้สงสัยจะสูญ เป็นบัญชีค่าใช้จ่าย
ส่วน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful) คือจำนวนเงินที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ ถือเป็นบัญชีปรับมูลค่า โดยนำไปหักออกจากบัญชีลูกหนี้ในงบดุล เพื่อให้ยอดลูกหนี้คงเหลือสุทธิใกล้เคียงความเป็นจริงที่คาดว่าจะเก็บเงินได้ การประมาณหนี้สงสัยจะสูญสามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ การคำนวณจากยอดขาย โดยคิดจากยอดขายในปีนั้นได้เลย ส่วนวิธีคำนวณจากยอดลูกหนี้ปลายงวด จะต้องดูบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเดิมก่อนว่ามีจำนวนเท่าใด ก็ตั้งเพิ่มในส่วนที่ขาด หรือต้องลดยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหากเดิมมีมากกว่าที่คำนวณได้
ที่มา
อาจารย์มาลินี วชิราภากร
อาจารย์ประจำวิชา
ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทให้บริการ หรือขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ จะมีลูกหนี้จำนวนหนึ่งที่กิจการไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ซึ่งกิจการได้ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว จึงตัดออกจากบัญชีลูกหนี้ เรียกว่า หนี้สูญ (Bad Debt) โดยถือเป็นบัญชีค่าใช้จ่าย แต่การติดตามทวงถามจากลูกหนี้อาจใช้เวลาคาบเกี่ยวระหว่างงวดบัญชี ทำให้ค่าใช้จ่ายไม่ตรงกับรอบระยะเวลาของการขายหรือให้บริการ และทำให้มูลค่าของลูกหนี้ไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงได้มีการประมาณลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ในแต่ละงวดบัญชี เรียกว่า หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts) ถือเป็นรายการปรับปรุงในวันสิ้นงวดบัญชี ซึ่งบัญชีหนี้สงสัยจะสูญ เป็นบัญชีค่าใช้จ่าย
ส่วน ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful) คือจำนวนเงินที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ ถือเป็นบัญชีปรับมูลค่า โดยนำไปหักออกจากบัญชีลูกหนี้ในงบดุล เพื่อให้ยอดลูกหนี้คงเหลือสุทธิใกล้เคียงความเป็นจริงที่คาดว่าจะเก็บเงินได้ การประมาณหนี้สงสัยจะสูญสามารถคำนวณได้ 2 วิธี คือ การคำนวณจากยอดขาย โดยคิดจากยอดขายในปีนั้นได้เลย ส่วนวิธีคำนวณจากยอดลูกหนี้ปลายงวด จะต้องดูบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเดิมก่อนว่ามีจำนวนเท่าใด ก็ตั้งเพิ่มในส่วนที่ขาด หรือต้องลดยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหากเดิมมีมากกว่าที่คำนวณได้
ที่มา
อาจารย์มาลินี วชิราภากร
อาจารย์ประจำวิชา
ความหมายของ "การบัญชี" และ "การทำบัญชี"
ความหมายของ "การบัญชี" และ "การทำบัญชี"
การบัญชี (Accounting) หมายถึง งานศิลปะของการนำรายงานและเหตุการณ์ทางการเงินมาจดบันทึก จัดหมวดหมู่ สรุปผล
และวิเคราะห์ ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์
คำว่า การบัญชี (Book-keeping) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมาย เช่น
"การบัญชี คือ การจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงิน และสิ่งที่มีค่าเป็นเงิน
ไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้"การทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึง งานประจำที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก
และรวบรวมข้อมูลประจำวันเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินได้
การทำบัญชีเป็นงานย่อยส่วนหนึ่งของการบัญชี
บุคคลผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชี เรียกว่า นักบัญชี (Accountant) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่บันทึกและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเงินประจำวัน เรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper)
ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงาน
ที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และ
ทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็น
ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าไว้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ
เรื่อง รูปแบบกิจการของธุรกิจ
รูปแบบของกิจการ (Forms of Organization) การจัดทำงบการเงินในแต่ละธุรกิจจะมีรายการค้าที่แตกต่างกันออกไปบ้าง โดยต้องศึกษาว่ากิจการค้านั้นตั้งขึ้นในลักษณะใดและประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างไร
กิจการหากแบ่งตามลักษณะของการดำเนินงานเพื่อประกอบการ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. กิจการให้บริการ เรียกว่า ธุรกิจบริการ (Service business) เป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน บริษัทขนส่ง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
2. กิจการจำหน่ายสินค้า (ซื้อมาขายไป) เรียกว่า ธุรกิจพาณิชยกรรม (Merchandising business) เป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ทำการผลิตเอง เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
3. กิจการอุตสาหกรรม เรียกว่า ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing business) เป็นธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าเองโดยการซื้อวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไปจำหน่าย เช่น บริษัทผลิตยา บริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
รูปแบบกิจการของธุรกิจแบ่งตามลักษณะของการจัดตั้งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company) 1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship) เป็นธุรกิจขนาดเล็กใช้เงินทุนไม่มากมีเจ้าของเพียงคนเดียวเป็นผู้นำเงินมาลงทุนและทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานเอง เช่น ร้านค้าปลีก อู่ซ่อมรถ และกิจการบริการวิชาชีพต่างๆ เป็นต้น ผู้เป็นเจ้าของกิจการเป็นผู้มีสิทธิ์ในสินทรัพย์ และเมื่อมีกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นก็จะเป็นผู้รับส่วนของกำไรหรือขาดทุนทั้งหมดนั้นแต่เพียงผู้เดียว ตลอดจนรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวนเช่นเดียวกัน ในทางกฎหมายกิจการเจ้าของคนเดียวไม่ถือเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของกิจการแต่ในทางบัญชีถือเป็นหน่วยอิสระหน่วยหนึ่งและแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของ ข้อดีของธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของกิจการเจ้าของคนเดียวนี้คือ การจัดตั้งและการบริหารงานง่าย รวดเร็ว เนื่องจากการตัดสินใจขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ส่วนข้อเสียคือ การขยายกิจการทำได้ยาก เพราะมีเจ้าของเพียงคนเดียว การกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จึงขึ้นอยู่กับฐานะและชื่อเสียงของเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว รูปแบบของกิจการชนิดนี้มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา และเสียภาษีในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership)
เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงร่วมลงทุนซึ่งทุนที่จะนำมาลงทุนนั้นอาจเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือแรงงานก็ได้
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรระหว่างกัน
มีการกำหนดเงื่อนไขในการบริหารงานและการแบ่งผลกำไรไว้อย่างชัดเจน
ผู้ลงทุนในห้างหุ้นส่วน เรียกว่า "ผู้เป็นหุ้นส่วน"
กิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางมักจัดตั้งขึ้นในรูปของห้างหุ้นส่วน
ข้อดีของธุรกิจที่ตั้งขึ้นในรูปแบบกิจการห้างหุ้นส่วนคือ
การตัดสินใจในการบริหารงานเป็นไปอย่างรอบคอบเนื่องจากมีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมในการตัดสินใจ
การขยายกิจการทำได้ง่ายกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
ส่วนข้อเสียคือ
อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ เนื่องจากต้องรอความเห็นชอบจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ๆ ก่อน
ห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ (ปพพ.) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือหุ้นส่วนสามัญ
ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน หมายความว่าถ้าห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลายและสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ไม่พอนำมาชำระหนี้ เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามารถฟ้องร้องหุ้นส่วนแต่ละคนให้นำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ได้
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีฐานะเป็นคณะบุคคลมิใช่นิติบุคคลมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียวและเสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ
2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนนั้น
2.2 หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
หุ้นส่วนพวกนี้เท่านั้นที่จะเป็นผู้บริหารห้างหุ้นส่วนในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคลและมีหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบใน
หนี้สินไม่จำกัดจำนวนอย่างน้อย 1 คน เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company) เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 7 คน
ผู้เริ่มก่อการตอนจดทะเบียนบริคณฑ์สนธิต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทจำนวนทุนและจำนวนหุ้นจดทะเบียน และแบ่งทุนออกเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน
บริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคลคือ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของคือผู้ถือหุ้น (Stockholders or Shareholders)
ผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น
บริษัทจะให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของราคาหุ้นที่ขาย
ผู้ถือหุ้น 1 หุ้นมีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น 1 เสียง ถ้ามีหุ้นเป็นจำนวนมากจะมีสิทธ์ออกเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่นั้น
ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่มีสิทธิ์เข้ามาจัดการงานของบริษัท เว้นแต่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการเพราะการจัดการบริษัทเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทเท่านั้น
ผู้ถือหุ้นได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividends)
หุ้นของบริษัทจำกัดอาจเปลี่ยนมือกันได้โดยการจำหน่ายหรือโอนหุ้นให้ผู้อื่น โดยไม่ต้องเลิกบริษัท เนื่องจากผู้ถือหุ้น (เจ้าของ) ทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทจำกัด
จำนวน คุณสมบัติส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจึงไม่เป็นสาระสำคัญ
บริษัทที่จดทะเบียนแล้วจะใช้คำนำหน้าว่า "บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด"
ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ จะใช้คำว่า "บริษัท….….จำกัด" หรือไม่ก็ได้
บริษัทจำกัดมี 2 ประเภท คือ
1. บริษัทเอกชนจำกัด (Private Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ตามมาตรา 1096 มีผู้เริ่มก่อการไม่ต่ำกว่า 7 คน
2. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 15 คน และต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อย 5 % ของทุนจดทะเบียนแต่ละคนถือหุ้นไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จดทะเบียน และตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป/ต้องมีคำนำหน้าชื่อว่า"บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด (มหาชน)"
และวิเคราะห์ ตีความอย่างมีหลักเกณฑ์
คำว่า การบัญชี (Book-keeping) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมาย เช่น
"การบัญชี คือ การจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับ-จ่ายเงิน และสิ่งที่มีค่าเป็นเงิน
ไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้"การทำบัญชี (Bookkeeping) หมายถึง งานประจำที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก
และรวบรวมข้อมูลประจำวันเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินได้
การทำบัญชีเป็นงานย่อยส่วนหนึ่งของการบัญชี
บุคคลผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบัญชี เรียกว่า นักบัญชี (Accountant) ส่วนผู้ที่มีหน้าที่บันทึกและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเงินประจำวัน เรียกว่า ผู้ทำบัญชี (Bookkeeper)
ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงาน
ที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และ
ทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็น
ประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าไว้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ
เรื่อง รูปแบบกิจการของธุรกิจ
รูปแบบของกิจการ (Forms of Organization) การจัดทำงบการเงินในแต่ละธุรกิจจะมีรายการค้าที่แตกต่างกันออกไปบ้าง โดยต้องศึกษาว่ากิจการค้านั้นตั้งขึ้นในลักษณะใดและประกอบธุรกิจในลักษณะอย่างไร
กิจการหากแบ่งตามลักษณะของการดำเนินงานเพื่อประกอบการ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. กิจการให้บริการ เรียกว่า ธุรกิจบริการ (Service business) เป็นธุรกิจที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน บริษัทขนส่ง อู่ซ่อมรถ เป็นต้น
2. กิจการจำหน่ายสินค้า (ซื้อมาขายไป) เรียกว่า ธุรกิจพาณิชยกรรม (Merchandising business) เป็นธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาเพื่อจำหน่ายโดยมิได้ทำการผลิตเอง เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านขายยา ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
3. กิจการอุตสาหกรรม เรียกว่า ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing business) เป็นธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าเองโดยการซื้อวัตถุดิบมาแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไปจำหน่าย เช่น บริษัทผลิตยา บริษัทผลิตอาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
รูปแบบกิจการของธุรกิจแบ่งตามลักษณะของการจัดตั้งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship)
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership)
3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company) 1. กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship) เป็นธุรกิจขนาดเล็กใช้เงินทุนไม่มากมีเจ้าของเพียงคนเดียวเป็นผู้นำเงินมาลงทุนและทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานเอง เช่น ร้านค้าปลีก อู่ซ่อมรถ และกิจการบริการวิชาชีพต่างๆ เป็นต้น ผู้เป็นเจ้าของกิจการเป็นผู้มีสิทธิ์ในสินทรัพย์ และเมื่อมีกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นก็จะเป็นผู้รับส่วนของกำไรหรือขาดทุนทั้งหมดนั้นแต่เพียงผู้เดียว ตลอดจนรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวนเช่นเดียวกัน ในทางกฎหมายกิจการเจ้าของคนเดียวไม่ถือเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของกิจการแต่ในทางบัญชีถือเป็นหน่วยอิสระหน่วยหนึ่งและแยกต่างหากจากผู้เป็นเจ้าของ ข้อดีของธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นในรูปของกิจการเจ้าของคนเดียวนี้คือ การจัดตั้งและการบริหารงานง่าย รวดเร็ว เนื่องจากการตัดสินใจขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ส่วนข้อเสียคือ การขยายกิจการทำได้ยาก เพราะมีเจ้าของเพียงคนเดียว การกู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จึงขึ้นอยู่กับฐานะและชื่อเสียงของเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว รูปแบบของกิจการชนิดนี้มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดา และเสียภาษีในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership)
เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงร่วมลงทุนซึ่งทุนที่จะนำมาลงทุนนั้นอาจเป็นเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือแรงงานก็ได้
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรระหว่างกัน
มีการกำหนดเงื่อนไขในการบริหารงานและการแบ่งผลกำไรไว้อย่างชัดเจน
ผู้ลงทุนในห้างหุ้นส่วน เรียกว่า "ผู้เป็นหุ้นส่วน"
กิจการร้านค้าปลีกขนาดกลางมักจัดตั้งขึ้นในรูปของห้างหุ้นส่วน
ข้อดีของธุรกิจที่ตั้งขึ้นในรูปแบบกิจการห้างหุ้นส่วนคือ
การตัดสินใจในการบริหารงานเป็นไปอย่างรอบคอบเนื่องจากมีผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมในการตัดสินใจ
การขยายกิจการทำได้ง่ายกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
ส่วนข้อเสียคือ
อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ เนื่องจากต้องรอความเห็นชอบจากผู้เป็นหุ้นส่วนอื่น ๆ ก่อน
ห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ (ปพพ.) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีหุ้นส่วนประเภทเดียว คือหุ้นส่วนสามัญ
ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน หมายความว่าถ้าห้างหุ้นส่วนเกิดล้มละลายและสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนที่มีอยู่ไม่พอนำมาชำระหนี้ เจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนสามารถฟ้องร้องหุ้นส่วนแต่ละคนให้นำทรัพย์สินส่วนตัวมาชำระหนี้ได้
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้
ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล เรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถ้าไม่จดทะเบียนจะมีฐานะเป็นคณะบุคคลมิใช่นิติบุคคลมีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา เช่น เดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียวและเสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้คือ มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ
2.1 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนนั้น
2.2 หุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัด หมายถึง ผู้เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินที่เกิดขึ้นของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
หุ้นส่วนพวกนี้เท่านั้นที่จะเป็นผู้บริหารห้างหุ้นส่วนในฐานะผู้จัดการห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เป็นนิติบุคคลและมีหุ้นส่วนประเภทรับผิดชอบใน
หนี้สินไม่จำกัดจำนวนอย่างน้อย 1 คน เสียภาษีเงินได้ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล3. บริษัทจำกัด (Corporation or Limited Company) เป็นธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยมีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 7 คน
ผู้เริ่มก่อการตอนจดทะเบียนบริคณฑ์สนธิต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น
ร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของบริษัทจำนวนทุนและจำนวนหุ้นจดทะเบียน และแบ่งทุนออกเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน
บริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคลคือ ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากเจ้าของคือผู้ถือหุ้น (Stockholders or Shareholders)
ผู้ถือหุ้นทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินจำกัดจำนวนเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถืออยู่เท่านั้น
บริษัทจะให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นครั้งแรกเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า 25% ของราคาหุ้นที่ขาย
ผู้ถือหุ้น 1 หุ้นมีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น 1 เสียง ถ้ามีหุ้นเป็นจำนวนมากจะมีสิทธ์ออกเสียงเท่ากับจำนวนหุ้นที่ถืออยู่นั้น
ผู้ถือหุ้นทุกคนไม่มีสิทธิ์เข้ามาจัดการงานของบริษัท เว้นแต่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการเพราะการจัดการบริษัทเป็นหน้าที่ของกรรมการบริษัทเท่านั้น
ผู้ถือหุ้นได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividends)
หุ้นของบริษัทจำกัดอาจเปลี่ยนมือกันได้โดยการจำหน่ายหรือโอนหุ้นให้ผู้อื่น โดยไม่ต้องเลิกบริษัท เนื่องจากผู้ถือหุ้น (เจ้าของ) ทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินของบริษัทจำกัด
จำนวน คุณสมบัติส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจึงไม่เป็นสาระสำคัญ
บริษัทที่จดทะเบียนแล้วจะใช้คำนำหน้าว่า "บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด"
ยกเว้นธนาคารพาณิชย์ จะใช้คำว่า "บริษัท….….จำกัด" หรือไม่ก็ได้
บริษัทจำกัดมี 2 ประเภท คือ
1. บริษัทเอกชนจำกัด (Private Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ตามมาตรา 1096 มีผู้เริ่มก่อการไม่ต่ำกว่า 7 คน
2. บริษัทมหาชนจำกัด (Public Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มีผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทไม่ต่ำกว่า 15 คน และต้องจองหุ้นรวมกันอย่างน้อย 5 % ของทุนจดทะเบียนแต่ละคนถือหุ้นไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จดทะเบียน และตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป/ต้องมีคำนำหน้าชื่อว่า"บริษัท" และคำลงท้ายว่า "จำกัด (มหาชน)"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)