วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจัดหมวดหมู่ และการกำหนดเลขที่บัญชี

การจัดหมวดหมู่  และการกำหนดเลขที่บัญชี
        การ ที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ  ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ใน การอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น  ควรจัดบัญชีต่าง ๆ  ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน  “ผังบัญชี”  (Chart of Account)
        การจัดหมวดหมู่ของบัญชี  แบ่งเป็น  5  หมวด  ได้แก่
           1. หมวดสินทรัพย์
           2. หมวดหนี้สิน
           3. หมวดส่วนของเจ้าของ (ทุน)
           4. หมวดรายได้
           5. หมวดค่าใช้จ่าย

ผังบัญชี (Chart of Accounts)
        ผังบัญชี หมายถึง การจัดบัญชีและกำหนดเลขที่บัญชีให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อใช้ในการอ้างอิงเมื่อผ่านรายการ จากสมุดรายวันทั่วไปไปบัญชีแยกประเภททั่วไป
               เลข 1    สำหรับหมวดสินทรัพย์
               เลข 2    สำหรับหมวดหนี้สิน
               เลข 3    สำหรับหมวดส่วนของเจ้าของ
               เลข 4    สำหรับหมวดรายได้
               เลข 5    สำหรับหมวดค่าใช้จ่าย
เลขหน้าแสดงหมวดบัญชี เลขหลังแสดงลำดับบัญชีแต่ละประเภทในแต่ละหมวด เช่น บัญชีเงินสด เลขที่ 101     

                      เลข  1        ด้านหน้า    =   หมวดสินทรัพย์
                      เลข  3       หลัง          =    ลำดับบัญชี
                     บัญชีลูกหนี้ เลขที่ 13

                                                                           ตัวอย่างผังบัญชี
 


จัดทำโดย นายสมศักดิ์ อุปการสังข์
โรงเรียนเชียรใหญ่ อำเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Copyright (c) 2008 Ms.somsak oupakansang. All rights reserved. 
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
thaigoodview.com Version 20.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

ประเภทของบัญชีแยกประเภท

ประเภทของบัญชีแยกประเภท     มี  3  ประเภท  ได้แก่
     1.บัญชีประเภทสินทรัพย์  หมายถึง  บัญชีที่แสดงมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการเป็นเจ้าของแยกตาม
 ประเภทสินทรัพย์  เช่น  บัญชีเงินสด  บัญชีเงินฝากธนาคาร  บัญชีลูกหนี้  บัญชีที่ดิน  ฯลฯ

    

     2.บัญชีประเภทหนี้สิน  หมายถึง  บัญชีที่แสดงมูลค่าของหนี้สินที่กิจการต้องชำระให้กับบุคคลภายนอก เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ธนาคาร บัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่าย บัญชีตั๋วเงินจ่าย เป็นต้น
     3.บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ  หมายถึง  บัญชีประเภทส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity)   
หมายถึง บัญชีที่แสดงส่วนของเจ้าของที่เพิ่มหรือลดลง ได้แก่ บัญชีทุน บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ บัญชีค่าใช้จ่าย
            บัญชีรายได้ เมื่อมีรายได้ ทำให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น
            บัญชีค่าใช้จ่าย เมื่อมีค่าใช้จ่าย ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
            บัญชีถอนใช้ส่วนตัว เมื่อมีการถอนเงินสดและนำสินทรัพย์ไปใช้ส่วนตัว ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง
 piano.gif         printing_tbg.gif      clock_hand.gif

     หลักการบันทึกบัญชีแยกประเภทมีหลักการดังนี้
        1. ให้นำชื่อบัญชีที่เดบิตในสมุดรายวันทั่วไป มาตั้งเป็นชื่อบัญชีแยกประเภท และบันทึกรายการทางด้านเดบิตโดย
               1.1     เขียนช่อง วัน เดือน ปี ตามที่ปรากฏในสมุดรายวันทั่วไป
               1.2     เขียนชื่อบัญชีที่เครดิตลงในช่องรายการ
               1.3     เขียนจำนวนเงินลงในช่องเดบิต
      2. ให้นำบัญชีที่เครดิตในสมุดรายวันทั่วไป มาตั้งเป็นเป็นชื่อบัญชีแยกประเภท และบันทึกไว้ทางด้านเครดิตโดย
               2.1 เขียนช่อง วัน เดือน ปี ตามที่ปรากฏในสมุดรายวันทั่วไป
               2.2 เขียนชื่อบัญชีที่เดบิตลงในช่องรายการ
               2.3 เขียนจำนวยเงินลงในช่องจำนวนเงินเครดิต
      3 การบันทึกบันชีในช่องรายการของบัญชีแยกประเภท แบ่งได้ 3 กรณี
             กรณีที่ 1 รายการเปิดบัญชีโดยการลงทุนครั้งแรก ถ้ากิจการนำเงินสดมาลงทุนให้เขียนชื่อบัญชีแยกประเภทตรงกันข้ามกัน   ถ้ากิจการนำสินทรัพย์หลายอย่างมาลงทุนและรับโอนเจ้าหนี้มาลงทุนให้เขียนในช่องรายการว่า"สมุดรายวันทั่วไป"
             กรณีที่ 2 รายการเปิดบัญชีโดยเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ซึ่งเป็นยอดคงเหลือยกมาจากระยะ เวลาบัญชีก่อนการบันทึกในช่องรายการให้เขียนว่า"ยอดยกมา"
            กรณีที่ 3 รายการค้าที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือน ในช่องรายการให้เขียนชื่อบัญชีแยกประเภทตรงกันข้ามกัน
    การอ้างอิง (Posting Reference)
     การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการอ้างอิงถึงที่มาของรายการนั้นดังนี้
                   1. ที่สมุดรายวันทั่วไป เขียนเลขที่ของบัญชีแยกประเภทลงในช่องเลขที่บัญชี
                   2. ที่บัญชีแยกประเภท เขียนหน้าของสมุดรายวันทั่วไปลงในช่องหน้าบัญชี โดยเขียนอักษรย่อว่า "ร.ว." เช่น "ร.ว.1” รายการนี้มาจากสมุดรายวันทั่วไป  หน้าที่ 1
                    ดังนั้น  การอ้างอิงที่มาของรายการ คือการอ้างอิงเลขหน้าสมุดรายวันทั่วไปในบัญชีแยกประเภทและเลขที่บัญชีในสมุด รายวันทั่วไปทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของรายการสะดวกในการค้นหาในภายหลังและ เป็นการป้องกันการหลงลืมการผ่านรายการ
     camera02.gif    creditcard_master.gif   whirligig.gif

จัดทำโดย นายสมศักดิ์ อุปการสังข์
โรงเรียนเชียรใหญ่ อำเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Copyright (c) 2008 Ms.somsak oupakansang. All rights reserved.
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551
thaigoodview.com Version 20.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

ระบบบัญชีแยกประเภท

  บัญชีแยกประเภทย่อย (แบบแสดงยอดดุล)  มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไป  แต่มีช่องยอดคงเหลือเพิ่มขึ้นมา  เพื่อแสดงรายการคงเหลือทุกครั้งที่มีการบันทึกรายการและเมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือ
        ส่วนประกอบต่าง ๆ  ของบัญชีแยกประเภทย่อย มีดังนี้
                    
                              1. ชื่อบัญช
                              2. เลขที่บัญชี
                              3. ช่อง  วัน  เดือน  ปี
                              4. ช่องรายการ
                              5. ช่องหน้าบัญชี
                              6. ช่องจำนวนเงินเดบิต
                              7. ช่องจำนวนเงินเครดิต
                              8. ช่องจำนวนเงินคงเหลือ


ที่มา   จัดทำโดย นายสมศักดิ์ อุปการสังข์
โรงเรียนเชียรใหญ่ อำเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
Copyright (c) 2008 Ms.somsak oupakansang. All rights reserved.

ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชี

ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชี
ประโยชน์ของการบัญชีพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถ ควบคุมดูแล รักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีผลกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเงินเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเงินเท่าใด
4. ข้อมูลทางการบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ช่วยในการกำหนดนโยบายในการวางแผนและช่วยในการตัดสินใจต่าง ๆ ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ข้อมูลทางบัญชีที่จดบันทึกไว้ สามารถช่วยในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด ในการดำเนินงานได้

  ประวัติและความเป็นมาของการบัญชี
การบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ยุค ตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้
1. ยุคก่อนระบบบัญชีคู่ เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 3000 ปี จนถึงศตวรรษที่ 13 มีการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี เนื่องจากการลงทุนในการค้า สภาพเศรษฐกิจและการเมืองจากระบบการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบการซื้อขาย และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี การจัดบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้จดบันทึกไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง

2. ยุคระบบบัญชีคู่ (Double Entry Book - keeping) ในปลายศตวรรษที่ 13 ในยุคนี้มีการลงทุนทางการค้าในรูปของการค้าร่วม หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มมีการก่อตั้งธนาคารมีเรือใบในการขนส่งสินค้า และมีการพิมพ์หนังสือลงในกระดาษ ค.ศ. 1202 ได้ค้นพบการจัดบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ทีสมบูรณ์ชุดแรก ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1340 ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า ต่อมาในศตวรรษที่ 15 อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจลงศูนย์การค้าได้เปลี่ยนไปยังประเทศในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้มีการหาผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นงวดบัญชี
3. ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่ 20 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ความต้องการทางบัญชีมีมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางบัญชีเปลี่ยนไปจากเดิมผู้บริหารเป็นผู้ใช้ ข้อมูลมาเป็นผู้ลงทุนเจ้าหนี้ และรัฐบาลเป็นผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี
 

 ข้อแนะนำในการเรียนบัญชีมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. ควรอ่านเนื้อหาวิชาการบัญชีแต่ละเรื่อง โดยละเอียดอย่างน้อย 2 ครั้งเนื้อหาตอนใดไม่เข้าใจต้องสอบถามผู้สอนทันที่ อย่าปล่อยให้เลยไป มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจในเรื่องต่อ ๆ ไป
2. ทำแบบฝึกหัดทุกข้อด้วยตนเอง เพื่อฝึกฝนให้การทำงานนั้น มีประสิทธิภาพถูกต้องรวดเร็ว และแม่นยำ
3. ในการเขียนตัวหนังสือและตัวเลข นักบัญชีที่ดีควรเขียนให้ชัดเจนอ่านง่าย และสะอาดเรียบร้อย
4. คุณสมบัติที่จำเป็นในการทำบัญชี คือต้องมีความละเอียดรอบคอบ และความถูกต้องแม่นยำในตัวเลข
5. ต้องฝึกหัดให้เป็นผู้ทีทำงานได้รวดเร็วและไม่ผิดพลาด
6. ฝึกให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

 

ความหมายของการบัญชี (Book Keeping )

ความหมายของการบัญชี (Book Keeping )
การ บัญชี (Book Keeping) หมายถึง การจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับ - จ่ายเงิน หรือสิ่งของที่กำหนดมูลค่าเป็นเงินไว้เป็นหลักฐานไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำ เสมอ จัดแยกประเภทต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และแสดงผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนี่งได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ตลอดจนการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานนั้น ซึ่งการบัญชีนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการบัญชี (Accounting)
1.2 ความหมายของวิชาการบัญชี (Accounting)
ความ หมาย วิชาบัญชี ในทางธุรกิจ หมายถึง การบันทึกรายการค้าและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอันที่จะทำให้สามารถบันทึกรายการนั้น ๆ ได้การบัญชี ได้แก่

1. การออกแบบและวางระบบบัญชี
2. การจดบันทึกรายการค้า
3. กรจัดทำงบการเงิน
4. กรตรวจสอบบัญชี
5. การบัญชีเกี่ยวกับภาษีอากร
6. การจัดทำงบประมาณ
7. การบัญชีต้นทุน
8. การควบคุมภายใน
9. การตรวจสอบโดยเฉพาะ
1.3 การบัญชีมีจุดประสงค์ดังนี้
1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่กิดขึ้นโยเรียงลำดับก่อนหลังและจำแนกประเภทของรายการค้าไว้อย่างสมบูรณ์
2. เพื่อให้การจดบันทึกรายการค้านั้นถูกต้อง เป็นตามหลักการบัญชและตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
3. เพื่อแสดงผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึง และแสดงฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่ง
 


สำนักงานบัญชี และกฏหมาย Witty Accounts and Law บริการให้คำปรึกษา


                               Witty Accounts and Law


ทางสำนักงานบัญชีเราได้จัดตั้งภายใต้ชื่อ สำนักงาน TAT การบัญชีและกฎหมาย เมื่อปี 2546 โดยทีมงานที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ ด้านบัญชีและภาษีอากรต่าง ๆ มากกว่า 10 ปี เปิดให้บริการรับทำบัญชี ตามมาตรฐานบัญชี
ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น Witty Accounts and Law เพื่อรองรับลูกค้า และให้บริการลูกค้าได้ครบวงจร ทางสำนักงานจึงได้ขยายงานด้านบริการ ด้านงานประกันสังคม งานจดทะเบียนธุรกิจทุกประเภท วางระบบบัญชี และให้บริการอื่น ตามความต้องการของลูกค้า และได้ขยายสำนักงานเพิ่มอีก 2 แห่งเพื่อความสะดวก และให้บริการแก่ลูกค้าต่างจังหวัด เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานทางด้านธุรกิจแก่ท่าน
ทางสำนักงานบัญชีของเรา พร้อมที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานให้ดียิ่งขึ้นอยู่ เสมอ เพื่อให้สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างทั่วถึง โดยมีทีมงานด้านฝ่ายบัญชี ฝ่ายตรวจสอบ และฝ่ายกฎหมาย
  • บริการงานด้านบัญชี
  • บริการงานด้านตรวจสอบบัญชี
  • บริการงานด้านประกันสังคม
  • บริการงานด้านจดทะเบียนต่าง ๆ
  • บริการด้านกฎหมาย
  1. กฎหมายธุรกิจ (Business Legal Services)
  2. กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท และการลงทุน (Company Partner Law and Investment)
  3. กฎหมายด้านภาษีอากร (The Excise Tax Law)
  4. กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา (The Intellectual Property Law)
  5. กฎหมายด้านแรงงาน (The Labour Law)
  6. กฎหมายด้านอสังหาริมทรัพย์ (The Real Estate Law)
  • บริการรับเคลียร์ปัญหาประเด็นภาษีต่าง ๆ
  • บริการรับปรึกษาด้านบัญชีและภาษี
  • บริการรับวางระบบบัญชี
  • บริการทำสัญญานิติกรรม
  • บริการงานสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
ทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นทางเลือก ในการพิจารณาให้ทำงานทางด้านบัญชี เพื่อความสะดวกในการดำเนินงานทางด้านธุรกิจแก่ท่านต่อไป

การบัญชีต้นทุน

การบัญชีบริหาร คือ กระบวนการทางบัญชีที่มุ่งไปในส่วนของการนำข้อมูลทางบัญชีการเงิน และบัญชีต้นทุน มาทำการวิเคราะห์ และแปลความหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร ทั้งในด้านการวางแผน การควบคุม การประเมินและวัดผลการดำเนินงานของบุคคลในองค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร แต่โดยส่วนใหญ่ข้อมูลที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารกิจการก็คือ ข้อมูลทางด้านต้นทุน (Cost Information) ดังนั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจโดยทั่วไปว่าการบัญชีบริหารก็คือการบัญชีต้นทุน แต่ในทางหลักการที่ถูกต้องแล้วการบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีบริหารเท่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ของการบัญชีการเงิน การบัญชีต้นทุน และการบัญชีบริหาร สามารถแสดงได้ ดังภาพ
 
ที่มา  การบัญชีต้นทุน : โดยอาจารย์อนุรักษ์  ทองสุโขวงศ์

ระบบบัญชีแยกประเภท

    ระบบบัญชีแยกประเภท
  • สามารถเลือกวิธีการบันทึกบัญชีได้ทั้ง PERIODIC และ PERPETUAL
  • สามารถสร้างบริษัท หรือ สาขาได้ไม่จำกัด
  • กำหนดให้เลขที่เอกสารให้ RUN อัตโนมัติ หรือ กำหนดเองได้
  • กำหนดรหัสบัญชีได้ยาวถึง 15 หลัก
  • สามารถกำหนดผังบัญชี ได้ด้วยตนเอง
  • สามารถกำหนดสมุดบัญชีคุมเงินสดย่อยได้
  • เมื่อป้อนรายการเสร็จ สามารถพิมพ์ งบต่าง ๆ ได้ทันที
  • มีการป้องกันการบันทึกบัญชีที่ไม่สมดุล
  • สามารถออกงบการเงิน แยกตาม ฝ่าย แผนก หน่วยงาน ได้
  • มีระบบตรวจสอบรายการบัญชีที่ปกติ
  • แม้ใช้ระบบ GL อย่างเดียว ก็สามารถ ทำรายงานภาษีซื้อ , ภาษีขาย , ภงด 3 , ภงด. 53 ได้
    รายงานบางส่วนของระบบ เพื่อช่วยผู้บริหาร
  • พิมพ์ Voucher ปะหน้าเอกสารได้
  • พิมพ์สมุดบัญชีรายวัน
  • รายงานบัญชีแยกประเภท
  • งบทดลอง
  • งบกำไร-ขาดทุน
  • งบกำไรสะสม
  • งบดุล
  • กระดาษทำการ
  • งบเปรียบเทียบกับงบประมาณ กับ ปีที่แล้ว
ภาพประกอบ ... คลิกที่รูปเพื่อดูขนาดภาพขยายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
.::: Profit - Account :::.
ที่มา   บริษัทโปรฟิทซอฟท์ จำกัด 21/15 หมู่ที่ 7 ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์ 0-2413-3545-6,0-2413-3611 มือถือ 086-328-8923, 085 046-9949 แฟกซ์ 0-2413-3611

รูปแบบบัญชีเครือข่ายในองค์กร

Copy right @ 2007 by nsbest.com All rights reserved .

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภาษีเงินได้นิติบุคคล




ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหลักการจัดเก็บที่สำคัญๆ โดยลำดับดังนี้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากกำไรสุทธิ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิ
รอบระยะเวลาบัญชี
กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)
อัตราภาษีและการคำนวณภาษี
การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ
สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี
บัญชีอัตราภาษี
ที่มา http://www.rd.go.th/publish/308.0.html